ความหมายของคุณธรรม
คุณธรรม ตามรูปศัพท์แปลว่า สภาพของคุณงามความดี ซึ่งพระปิฎก อธิบายความหมายไว้ว่า คุณธรรมคือ ธรรมที่เป็นคุณ ความดีงาม
สภาพที่เกื้อกูลพระเทพวิสุทธิเมธี อธิบายไว้ว่าคุณธรรมหมายถึงคุณสมบัติฝ่ายดี
เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุข
คุณธรรมเป็นส่วนที่ต้องอบรมโดยเฉพาะ หรือให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมกับที่ต้องการ
คุณธรรม (Ethics) ตามแนวคิดในวงการการศึกษาตะวันตกนั้นมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ คือเป็นแนวคิดทั้งในลักษณะวิชาปรัชญา จิตวิทยา
สังคมวิทยาและการศึกษาแนวความคิดของนักวิชาการตะวันตกค่อนข้างหลากหลายและมีพื้นที่ของศาสตร์การศึกษาที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจนซามูเอล
สตัมพ์ อธิบายความหมายของคุณธรรมในเชิงวิชาปรัชญาว่า
คุณธรรมเป็นการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าถูกหรือผิด ดีหรือเลว
พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ มีคุณค่าหรือไร้ค่า
นอกจากนี้คุณธรรมยังเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ หน้าที่ พฤติกรรมที่ยอมรับนับถือต่างๆของแต่ละบุคคลอีกด้วย
อย่างไรก็ดี สตัมพ์อธิบายว่า ในเรื่องทฤษฏีคุณธรรมของลัทธิปรัชญานั้น
จะไม่ใช้ตอบคำถามว่าคุณธรรมใดดีกว่า หรือถูกต้องกว่าเบอร์ตัน พอร์ตเตอร์ ชี้แจงว่าคุณธรรมเป็นปัจจัยการดำรงชีวิตของบุคคลในสังคม
คนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตในสังคมนั้นไม่ใช่แต่การมีชีวิตอยู่เพียงเท่านั้น
แต่ต้องประเมินและเลือกวิถีชีวิตที่แต่ละคนคิดว่าน่าจะดีกว่าหรือควรดีกว่า
ปัจจัยในการเลือกนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับระบบคุณธรรมทั้งระบบคุณธรรมของสังคมและส่วนบุคคล
คุณธรรมของสังคมย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลด้วย อย่างไรก็ดีคุณธรรมของคนในสังคมหนึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องดีหรือเป็นสิ่งที่ถูกต้องในอีกสังคมหนึ่งก็ได้ จากความหมายดังกล่าวนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าคุณธรรมของครูคือ
สภาพที่เกื้อกุลครูพระเทพวิสุทธิเมธี อธิบายว่า
คุณธรรมของครูคือสภาพของครูที่สมบูรณ์ด้วยสิทธิและหน้าที่ของครูนั่นเอง
ความหมายของจริยธรรม
จริย แปลว่า กิริยา ความประพฤติ การปฏิบัติ
ฉะนั้นจริยธรรมจึงหมายถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับมนุษย์เพื่อให้บรรลุถึงสภาพชีวิตที่พึงประสงค์
พระเทพวิสุทธิเมธี อธิบายว่า จริยธรรมหมายถึง
ตัวของกฎที่ต้องปฏิบัติ ส่วนจริยศาสตร์ คือเหตุผลสำหรับใช้อธิบายกฎที่ต้อปฏิบัติ
มีลักษณ้เป็นปรัชญา และเมื่อรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันจะเรียกว่าจริยศึกษา พจนานุกรม Collin Coluild อธิบายว่าจริยธรรมมีความหมาย 2 นัยคือ
1. โดยนัยที่เป็นภาวะทางจิตใจ (Idea) นั้น
จริยธรรมแปลว่า
ความคิดที่ว่าบางพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรทำและเป็นที่ยอมรับและบางพฤติกกรมเป็นสิ่งที่ผิดหรือเลว
ทั้งนี้เป็นไปได้โดยความคิดเห็นของแต่ละบุคคลและโดยความคิดเห็นของสังคม
นอกจากนี้จริยธรรมยังเป็นคุณภาพหรือสถานะในการดำเนินชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง
2. จริยธรรมเป็นระบบของลักษณะการและคุณค่าที่เกี่ยวพันกับพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นทียอมรับของสังคมหรือเฉพาะกลุ่มคน
จริยธรรม แปลว่า สิ่งที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
หรือกฎที่ควรปฏิบัติในทางที่ดี ที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีหรือมีสันติสุขในสังคม
ในการเทศนาสั่งสอนของพระสงฆ์ในศาสนาพุธนั้นมีสองแบบคือเทศนาธรรม
หมายถึงการบอกหรือการอธิบายข้อความต่างๆ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร
มีประโยชน์หรือเป้าประสงค์อย่างไร ส่วนเทศนาจริยะคือ
การอบรมและการอธิบายสิ่งที่พึงกระทำหรือบอกถึงพฤติปฏิบัติในทางที่ดี
ดวงเดือนพันธุมนาวิน (2524 : 3) อธิบายว่า
จริยธรรม (Morality) หมายถึงลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์
และมีขอบเขตรวมถึงพฤติกรรมทางสังคมลักษณะต่างๆ
ด้วยลักษณะและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม จะมีคุณสมบัติสองประเภท คือ
เป็นลักษณะที่สังคมต้องการกับลักษณะสังคมไม่ต้องการ
ให้มีอยู่ในตัวสมาชิกของสังคมนั้นๆ พฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ ให้การสนับสนุน
และผู้กระทำส่วนมากเกิดความพอใจว่าการกระทะนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม
ส่วนอีกพฤติกรรมที่สังคมไม่นิยมหรือไม่ตองการให้สมาชิกมีอยู่เป็นการกระทำที่สังคมลงโทษหรือพยายามจัดและผู้กระทำพฤติกรรมนั้นรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและสมควร
ลักษณะเชิงจริยธรรมของมนุษย์นั้น จำแนกได้หลายลักษณะ ได้แก่
ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิงจริยธรรม การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆเป็นต้น
ความรู้เชิงจริยธรรม หมายความว่า
ในสังคมของตนนั้นถือว่าการกระทำชนิดใดดีควรทำ และการกระทำชนิดใดควรงดเว้น
ลักษณะพฤติกรรมประเภทใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเพียงใด
ปริมาณความรู้เชิงจริยธรรมหรือความรู้เกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมนี้ขึ้นอยู่กับอายุ
ระดับการศึกษาและพัฒนาการทางสติปัญญาของแต่ละบุคคลด้วย
ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางสังคมและศาสนาส่วนใหญ่
ทัศนคติเชิงจริยธรรม คือ
ความรู้สึกของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆ
ว่าชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้นๆเพียงใด ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลส่วนมากจะสอดคล้องกับค่านิยมในสังคมนั้น
แต่บุคคลบางคนในสถานการณ์ปกติอาจมีทัศนคติแตกต่างไปจากค่านิยมของแต่ละบุคคล
เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึงการที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำ
หรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
เหตุผลที่จะกล่าวถึงนี้จะแสดงให้เห็นเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการกระทำต่างๆของบุคคล
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายความถึงการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบหรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือค่านิยมในสังคมนั้น
ตัวอย่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเช่น การให้ทาน การเสียสละเพื่อส่วนรวม
และการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก การโกงสิ่งของเงินทอง การลักขโมย
การกล่าวเท็จเป็นต้น
พฤติกรรมจริยธรรมเป็นพฤติกรรมที่สังคมให้ความสำคัญมากกว่าด้านอื่นๆ
ทั้งนี้เพราะการกระทำในทางที่ดีและเลวของบุคคลนั้น
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความผาสุกและความวุ่นวายของส่วนรวม
คุณธรรมกับจริยธรรมเป็นเรื่องเดียวเกี่ยวพันกัน อาจกล่าวได้ว่า
คุณธรรมเป็นธรรมฝ่ายดีที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล
การแสดงออกของคุณธรรมให้ประจักษ์นั้นเรียกว่าจริยธรรมนั่นเอง
ส่วนคำว่าจริยศาสตร์คือเหตุผลที่อธิบายสำหรับข้อหรือกฎที่ต้องปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาปรัชญาที่เกี่ยวกับส่วนที่เรียกว่าจริยธรรม
ความหมายของจรรยาบรรณ (Moral Codes)
เฟรด เฟลดแมน (Fred Feldman 1978 : 67) กล่าวว่าจรรยาบรรณคือกลุ่มของกฎกติกาที่สมบูรณ์ที่ครอบคลุมแนวประพฤติปฏิบัติ
ในทุกๆสภาวการณ์
จรรยาบรรณ ตามรูปศัพท์นั้นคือ จรรยา กับ
บรรณ คำว่าจริยา มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าจริย ซึ่งหมายถึง กริยาซึ่งควรปฏิบัติ
สิ่งที่พึงปฏิบัติ หรือว่าสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ในวงการวิชาชีพต่างๆ
นั้นนิยมใช้คำว่า จรรยาซึ่งแปลว่า กิริยาที่ควรปฏิบัติในหมู่คณะ ส่วนคำว่าบรรณ
แปลว่าหนังสือ เมื่อรวมคำขึ้นใหม่ว่าจรรยาบรรณ
จึงหมายถึงความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ
กำหนดขึ้นเพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของวิชาชีพนั้นๆ โดยบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
จรรยาบรรณจึงเป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติโดยกำหนดไว้เป็นหนังสือที่ชัดเจน
สำหรับเป็นกติกาของหมู่คณะในวงการเดียวกัน เป็นกฎที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
หากฝ่าฝืนก็จะถูกรังเกียจหรือต่อต้าน อันเป็นการลงโทษทางสังคม สำหรับวิชาชีชั้นสูงหลายสาขาอาชีพมักมีกฎหมายรองรับด้วย
ฉะนั้นเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพคนใดผิดจรรยาบรรณ จึงถูกลงโทษตามกฎหมายด้วย
อาจสรุปความเกี่ยวพันระหว่างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณได้ว่า
คุณธรรมเป็นหลักเกณฑ์ฝ่ายดีที่เป็นสำนึกที่เกิดขึ้นในจิตใจมนุษย์ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนแล้ว
ส่วนจริยธรรมเป็นกฎของการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่ควรเป็นที่ยอมรับ
ส่วนจรรยาบรรณนั้นเป็นข้อกติกาเพื่อกำหนดให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มต้องประพฤติในสภาวการณ์ต่างๆนั่นเอง
ลักษณะของครูที่ดีที่พึงประสงค์
ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์มี 3
ประการ ได้แก่
มีความรู้ที่ดีคือ
การมีความรู้ในวิชาทั่วไป
มีทักษะการสอนที่ดีและการปฏิบัติหน้าที่คุณครูที่ดี
มีคุรุคุณธรรมนิยม คือ มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณของความเป็นครู
อ้างอิง
1. https://www.gotoknow.org/posts/203198
1. https://www.gotoknow.org/posts/203198
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น